Helpful Tips

29
OCT

ระบบการพิมพ์ Printing System

1. ระบบการพิมพ์พื้นราบ Offset Printing

ระบบการพิมพ์พื้นราบ Offset Printing

เป็นระบบการพิมพ์พื้นราบ เรียกตามลักษณะของแม่พิมพ์ที่เป็นแผ่นราบการทำงานของออฟเซตคือกระดาษจะถูกดึงเข้าเครื่องโดยเครื่องผ่านหัวพิมพ์ในแต่ละสี โดยปกติแล้วเครื่องทั่วไปจะมีด้วยกัน4หัวพิมพ์คือ CMYK แต่ในปัจจุบันมีการเพิ่มหัวพิมพ์มากขึ้นเพราะมีการเพิ่มสารเคลือบและสีพิเศษเข้าไปด้วย เครื่องพิมพ์ออฟเซตแบ่งเป็น 2 ลักษณะ

  1. เครื่องพิมพ์แบบป้อนแผ่น คือเครื่องพิมพ์ที่ใช้กระดาษที่เป็นแผ่นป้อนเข้าเครื่อง โดยจะแบ่งเป็นการพิมพ์หน้าเดียวหรือพิมพ์ทีละ 2 หน้าก็ได้ เครื่องพิมพ์ออฟเซตระบบป้อนจะมีหน้ากว้างที่สามารถรองรับกระดาษได้ในศัพท์ของการพิมพ์คือ

    ขนาดตัด 1 มีขนาด 30*40 นิ้วเป็นขนาดที่ใหญ่ที่สุดส่วนมากใช้ในการพิมพ์หนังสือหรือโปสเตอร์และบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่

    ขนาดตัด 2 มีขนาด 28*40 นิ้วเหมาะกับงานโปสเตอร์ขนาดใหญ่และอื่นๆ

    ขนาดตัด 4 มีขนาด 15*21 หรือ 18*25 แล้วแต่อุปกรณ์เสริมของเครื่องเหมาะกับงานทั่วไป


    *สรุปข้อคำนึงถึงขนาดของเครื่องพิมพ์ ในการทำไดคัทนั้นควรคำนึงถึงขนาดของหน้ากว้างเครื่องพิมพ์ด้วยเพราะจะมีผลต่อการประกอบงานถ้าเป็นขนาดที่ใหญ่มากเครื่องพิมพ์ไม่สมารถพิมพ์ได้จึงจะต้องมีการต่อชิ้นส่วนทำให้ต้นทุนสูงขึ้นและไม่มีความสวยงาม

    เครื่องพิมพ์แบบป้อนแผ่น
  2. เครื่องพิมพ์แบบป้อนม้วน เรียกตามลักษณะของกระดาษที่เข้าเครื่องในลักษณะม้วนมีทั้งพิมพ์แบบ2หน้าและหน้าเดียวเช่นเดียวกับระบบป้อนแผ่น ระบบนี้ไม่เหมาะสมกับกระดาษที่มีลักษณะแข็งเพราะจะไม่สามารถเข้าเครื่องพิมพ์ได้เหมาะกับงานที่จะต้องพิมพ์จำนวนมากๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยาสาร หรือสติ๊กเกอร์เป็นต้นหน้ากว้างนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องพิมพ์โดยประมาณจะมีขนาด 410 เซนติเมตร

    *สรุป การพิมพ์ชนิดนี้ไม่เหมาะสมกับการพิมพ์ที่เป็นลักษณะกล่อง เพราะกระดาษที่แข็งเกินไปจะไม่สามารถเข้าเครื่องได้แต่เหมาะสมกับ การพิมพ์สติ๊กเกอร์หรือนิตยสารต่างๆ
    เครื่องพิมพ์แบบป้อนม้วน

ประเภทของงาน งานพิมพ์ที่เหมาะสมกับระบบนี้ จะเป็นประเภท โปสเตอร์ หนังสือ กล่อง สติ๊กเกอร์ต่างๆ

ข้อจำกัด เทคนิคบางประเภทยังไม่สารถใส่เข้าไปในระบบการทำงานของเครื่องได้ ทำให้มีต้นทุนบางอย่างสูง
เช่น การใช้หมึกหรือวานิชที่เป็นยูวี การเคลือบ สปอตยูวี เป็นต้นและยังไม่สามารถพิมพ์กระดาษที่มีความหนามากๆได้

วัสดุที่ใช้ กับระบบออฟเซตกระดาษเกือบทุกประเภทยกเว้นกระดาษที่มีความหนามากๆเช่นระดาษลูกฟูก อาร์ตบอร์ด /พลาสติกประเภทสติ๊กเกอร์หรือพลาสติกที่ยืดหยุ่นได้ไม่แข็งตัวมาก เช่น พลาสติกPVC แบบบาง/หมึกพิมพ์ มี2ลักษณะใหญ่ๆคือ

  • ฐานน้ำมัน เหมาะสำหรับงานพิมพ์ทั่วไปจะแห้งโดยธรรมชาติ จะให้สีที่สด เหมาะกับ การพิมพ์ประเภทที่ต้องหลีกเลี่ยงสารเคมี มีราคาที่ถูก มีทั้งแบบสีพิเศษ และ 4คัลเลอร์
  • ฐาน UV จะเป็นสีที่ใช้แสงยูวีในการทำให้แห้งเหมาะกับงานที่ต้องการความคงทนต่อแสงการขูดขีดและเหมาะกับงานที่เป็นพลาสติก ที่ไม่มีการดูดซึมเหมือนกระดาษ

เทคนิค ที่ใช้กับงานออฟเซต คือการทำ สปอตยูวี ปั๊มต่างๆ เช่น นูน จม เงิน ทอง โฮโลแกรม เป็นต้น รวมถึงการเคลือบลักษณะพิเศษต่างๆ การทำไดคัทแบบแฟนซี

ข้อดี ของระบบนี้คือจะให้ภาพที่ดูสวยงามด้วยเม็ดสกรีนที่มีขนาดมาตรฐาน จึงทำให้ภาพที่ออกมานั้นค่อนข้างสวยกว่าระบบอื่น

ข้อเสีย ของระบบนี้คือต้นทุนจะสูงเมื่อพิมพ์ในจำนวนที่น้อย เพราะมีการเซตเครื่องที่ต้องใช่ระยะเวลาและความชำนาญดังนั้นจึงไม่เหมาะกับการพิมพ์ที่มีจำนวนน้อย

2. ระบบการพิมพ์พื้นนูน Flexo Printing

เป็นระบบการพิมพ์พื้นนูน Flexo Printing

เรียกตามลักษณะของแม่พิมพ์ที่เป็นแผ่นนูนขึ้นมาการทำงานของออฟเซตคือกระดาษจะถูกดึงเข้าเครื่องโดยเครื่องผ่านหัวพิมพ์ในแต่ละสี โดยปกติแล้วเครื่องทั่วไปจะมีด้วยกัน4หัวพิมพ์คือ CMYK แต่ในปัจจุบันมีการเพิ่มหัวพิมพ์มากขึ้นเพราะมีการเพิ่มสารเคลือบและสีพิเศษเข้าไปด้วยแต่ด้วยระบบเครื่องและวัสดุบางอย่างจึงทำให้ระบบนี้ยังเป็นที่ไม่นิยมมากนัก

ระบบการพิมพ์พื้นนูน Flexo Printing

เครื่องพิมพ์แบบป้อนแผ่น คือเครื่องพิมพ์ที่ใช้กระดาษที่เป็นแผ่นป้อนเข้าเครื่อง โดยส่วนมากแล้วจะใช้กระดาษประเภทลูกฟูกเพราะว่างานที่พิมพ์ด้วยระบบนี้จะมีคุณภาพที่ไม่ดีนัก เช่นการพิมพ์กล่องที่มีเพียง1-2สีเท่านั้น เพราะด้วยข้อจำจัดของเครื่อง

เครื่องพิมพ์แบบป้อนแผ่น

เครื่องพิมพ์แบบป้อนม้วน เรียกตามลักษณะของกระดาษที่เข้าเครื่องในลักษณะม้วนเหมือนกันกับระบบออฟเซตสามารถพิมพ์ได้ทั้งกระดาษและพลาสติกเช่นเดียวกันหน้ากว้างที่สามรถพิมพ์ได้อยู่ที่ประมาณ 410 ที่มีในไทย

เครื่องพิมพ์แบบป้อนม้วน

ระบบการพิมพ์พื้นนูน Flexo Printing

ระบบการพิมพ์พื้นนูน Flexo Printing

ประเภทของงาน งานพิมพ์ที่เหมาะสมกับระบบนี้ จะเป็นประเภท สติ๊กเกอร์ฉลาก กล่อง ซองบรรจุภัณฑ์ต่างๆ

ระบบการพิมพ์พื้นนูน Flexo Printing

ข้อจำกัด ระบบนี้ในส่วนของงานที่เป็นพลาสติกยังต้องใช้หมึกที่เป็นระบบยูวีซึ่งมีข้อจำกัดสำหรับผลิตภัณฑ์บางประเภท ส่วนการพิมพ์ด้วยระบบน้ำนั้นยังไม่สามารถทำให้มีคุณภาพที่ดีนักหรือยังไม่สามารถพิมพ์ได้หลายสีเป็นต้น

วัสดุที่ใช้ กับระบบเฟลกโซกราฟี กระดาษ ฉลาก สติ๊กเกอร์ต่างๆ รวมถึงกระดาษลูกฟูกเป็นหลัก

หมึกพิพม์ฐานน้ำ เหมาะสำหรับงานพิมพ์ทั่วไปจะแห้งโดยธรรมชาติ และฐาน UV จะเป็นสีที่ใช้แสงยูวีในการทำให้แห้งเหมาะกับงานที่ต้องการความคงทนต่อแสงการขูดขีดและเหมาะกับงานที่เป็นพลาสติก ที่ไม่มีการดูดซึมเหมือนกระดาษ

เทคนิค ที่ใช้กับงานเฟลกโซ คือการทำ สปอตยูวี ปั๊มต่างๆ เช่น นูน จม เงิน ทอง โฮโลแกรม เป็นต้น รวมถึงการเคลือบลักษณะพิเศษต่างๆ การทำไดคัทแบบแฟนซี เช่นเดียวกับระบบออฟเซต

ระบบการพิมพ์พื้นนูน Flexo Printing

ข้อดี ของระบบนี้คือสามรถเพิ่มเทคนิคต่างๆในเครื่องได้เลยเช่นการสกรีนการทำสปอตยูวี รวมถึงการใช้เทคนิคการพิมพ์ฟอยโดยไม่ต้องใช้ความร้อนจึงทำให้มีต้นทุนที่ถูก รวมถึงการพิมพ์จะมีต้นทุนที่ถูกกว่าระบบออฟเซต

ข้อเสีย ของระบบนี้คือในการพิมพ์ที่เป็นภาพจะไม่สวยเท่าระบบออฟเซต

3. ระบบการพิมพ์พื้นฉลุ Screen Printing

ระบบการพิมพ์พื้นฉลุ Screen Printing

เรียกอีกอย่างนึงว่าการพิมพ์ซิลค์สกรีน คือแม่พิมพ์ทำด้วยเส้นใยละเอียด ที่เป็นเส้นใยผ้าไหม ไนรอน หรือโลหะ โดยที่แม่พิมพ์นั้นจะถูกเคลือบด้วย น้ำยาที่ทำหน้าที่ปิดส่วนที่ไม่ใช่ภาพ ลักษณะของการพิมพ์นั้นภาพที่ออกมาจะมีลักษณะนูน

ระบบการพิมพ์พื้นฉลุ Screen Printing

ระบบการพิมพ์พื้นฉลุ Screen Printing

เครื่องพิมพ์ในระบบสกรีน มีด้วยกัน 2 ที่เป็นแบบบล็อคและแบบม้วน โดยแบบที่นิยมในอุสาหกรรมนั้นจะเป็นแบบม้วนเหมาะกับงานพิมพ์สติ๊กเกอร์ฉลากต่างๆ โดยแบบม้วนนั้นเป็นแบบที่ใหม่กว่า และทำงานง่ายกว่าแบบบล็อค

เครื่องพิมพ์ในระบบสกรีน

ประเภทของงาน งานพิมพ์ที่เหมาะสมกับระบบนี้ เป็นงานพิมพ์ทุกประเภทที่ต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งพิมพ์ เพราะด้วยความนูนของงานพิมพ์ระบบนี้ จึงมีการนำมาใช้กับงานสปอต ยูวี

ระบบการพิมพ์พื้นนูน Flexo Printing

ข้อจำกัด สีของงานพิมพ์สกรีนนั้นจะเป็นสีทึบแสง การทำสีพิเศษนั้นบางสีอาจทำได้ยากและมีมูลค่าสูง และไม่สามารถพิมพ์ สอดสีได้สำหรับงานที่มีความละเอียดมากๆ

ระบบการพิมพ์พื้นนูน Flexo Printing

วัสดุที่ใช้ สามารถใช้ได้กับทุกวัสดุที่มีผิวเรียบ

เทคนิค ที่ใช้กับคือการทำ สปอตยูวี เคลือบลักษณะพิเศษต่างๆ

ระบบการพิมพ์พื้นนูน Flexo Printing

ข้อดี ข้อดีของระบบนี้คือสามารถสร้างพื้นผิวที่สามารถสัมผัสได้ อาจนำมาดัดแปลงเพื่อใช้กับคนพิการได้ และสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพื้นผิวต่างๆได้ดี

ข้อเสีย ของระบบนี้คือการพิมพ์สอดสี จะมีต้นทุนที่สูงไม่เหมาะกับการสกรีน สีพิเศษมีโอกาสที่สีจะเพี้ยนสูง

4. Pad Printing

Pad Printing

ข้อดี คือสามารถพิมพ์วัสดุที่มีความโค้งงอหรือขึ้นรูปได้

ข้อเสีย คือไม่สามารถพิมพ์สอดสีได้

วัสดุ ที่สามารถพิมพ์ได้คือวัสดุที่มีการขึ้นรูปแล้ว ทุกประเภท แต่อาจมีข้อจำกัดเรื่องของขนาด

Pad Printing

Pad Printing

5. Digital printing

Pad Printing

ใช้สำหรับการพิมพ์ หลายประเภท เช่น หนังสือ บรรจุภัณฑ์ ผ้า รวมถึงงานฉลากต่างๆ เป็นงานพิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ใช้ ประจุ บวกลบ เป็นการยึดสีหรือหมึกกับวัสดุพิมพ์

ข้อดี คือสามารถพิมพ์งานจำนวนน้อยโดยมีต้นทุนที่ถูกกว่าระบบอื่น มีความละเอียดสูง

ข้อเสีย คือ ไม่สารถพิมพ์งานที่มีขนาดใหญ่มากได้ ไม่เหมาะกับงานที่มีจำนวนมาก

วัสดุ ที่สามารถพิมพ์ได้คือ กระดาษ สติ๊กเกอร์ ผ้า วัสดุที่มีความเรียบอื่นๆ

เทคนิค เคลือบด้วยสารพิเศษต่างๆ และ Spot uv การพิมพ์ลักษณะ Foil จะใช้วัสดุที่เป็น Foil แทน

Digital printing

Digital printing

คำศัพท์

แถบสี คือแถบสีที่อยู่นอกเหนืองานพิมพ์ใช้สำหรับตรวจสอบสี เม็ดสกรีน คุณภาพของงานพิมพ์ ตรวจสอบแม่พิมพ์

เกรนกระดาษ คือทิศทางของกระดาษ มีผลต่อการพับ

ปรู๊ฟดิจิตัล คือการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตัลเพื่อตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ(สี AW รวมถึงขนาดจริง)

ปรู๊ฟแท่น คือการพิมพ์โดยใช้เครื่องจริงหรืออาจเป็นเครื่องที่เล็ก เพื่อนำมาเป็นชิ้นงานเปรียบเทียบก่อนพิมพ์จริง

ปั๊มนูน Embossing คือการขึ้นรูปกระดาษโดยการกดทับ ทำให้ชิ้นงานดูนูนขึ้น โดยใช้แม่พิมพ์เป็นตัวกดทับ

ปั๊มลึก Debossing คือการขึ้นรูปกระดาษโดยการกดทับ ทำให้ชิ้นงานดูลึกลงโดยใช้พิมพ์สี่สีแม่พิมพ์

ตัดเจียน คือการตัดกระดาษทำให้ขอบนั้นมีความเรียบร้อยเสมอกัน

เพลท คือแม่พิมพ์

ตัดตก คือการวางแบบอาร์ตให้เลยออกมาจากขนาดจริง เพื่อเผื่อความคลาดเคลื่อน ในขั้นตอนการพิมพ์

ซับหลัง คือสีที่เปื้อนชิ้นงานโดยเกิดจากการที่หมึกยังไม่แห้งตัว

Consumer Behavior Analysis
Defined Brand Identity
Marketing / Support